หน่วยที่ 2 เริ่มใช้งาน Microsoft Office PowerPoint

 

2.1 ลักษณะของโปรแกรม

ลักษณะของโปรแกรม

            โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการนำเสนอข้อมูลมากที่สุดไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน การบรรยายทางวิชาการ การประชาสัมพันธ์กิจกรรมขององค์กร โปรแกรม Microsoft Point สามารถที่จะนำเสนอข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ รวมทั้งสามารถใช้สื่อทางด้านมันติมีเดียคือ วิดีโอและเสียงประกอบได้



2.2 การเรียกใช้โปรแกรม

การเรียกใช้โปรแกรม

การใช้โปรแกรม Microsoft Point 2013 มีวิธีปฏิบัติเหมือนกับโปรแกรมต่างๆ คือ

        1. คลิกที่ Start

        2. คลิกที่ชื่อโปรแกรมที่ต้องการ ในที่นี้คือ Power Point 2013


        3. จะปรากฏหน้าจอดังนี้


        4. มีรูปแบบของสไลด์ให้เลือก


        5. ในที่นี้จะเลือกแบบ Blank Presentation คือ เอาสไลด์ว่างป่าว โดยมีดับเบิ้ลคลิกที่ Blank Presentation




2.3 ส่วนประกอบของโปรแกรม

ส่วนประกอบของโปรแกรม

ส่วนประกอบของหน้าต่างโปรแกรมจะประกอบด้วย


        1. Menu Bar เป็นส่วนที่ใช้เก็บคำสั่งต่างๆ ที่ใช้งานในโปรแกรม เช่น File Home Insert Design เป็นต้น

        2. Ribbon เป็นแถบที่ใช้รวบรวมเครื่องมือการใช้งานเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

        3. Slide and Outline เป็นส่วนที่ใช้แสดงแบบจำลองของภาพนิ่งทั้งหมดที่มีอยู่ในสไลด์

        4. Slide Pane เป็นพื้นที่ที่ใช้แสดงรายละเอียดของสไลด์

        5. Status Bar เป็นส่วนที่ใช้รายละเอียดของสไลด์ที่เปิดขึ้นมาใช้งาน

        6. View Bar เป็นส่วนที่ใช้แสดงมุมมองในลักษณะต่างๆ

เมนู (Menu) จะประกอบด้วยแท็บ (Tab) ต่างๆ ดังนี้

·       Home (หน้าแรก)

Home รวมคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างเอาสไลด์ใหม่และการจัดสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง  Slide) กำหนดลักษณะตัวอักษร (กลุ่มคำสั่ง Font) การกำหนดย่อหน้า (กลุ่มคำสั่ง Paragraph) การวาดและตกแต่งรูปร่างประกอบสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง Drawing) และเครื่องมือค้นหา/แทนที่ข้อความ (กลุ่มคำสั่ง Editing)

·       Insert (แทรก)

Insert รวมคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างวัตถุประเภทต่างๆ บนสไลด์ เช่น ตาราง (กลุ่มคำสั่ง Tables) ภาพ/คลิปอาร์ต/รูปร่าง (กลุ่มคำสั่ง Illustration) การสร้างความเชื่อมโยง (กลุ่มคำสั่ง Links) ข้อความแบบพิเศษ (กลุ่มคำสั่ง Text) และคลิปวิดีโอ/คลิปเสียง (กลุ่มคำสั่ง Media)

·       Design (ออกแบบ)

Design รวมคำสั่งเกี่ยวกับการตั้งค่าหน้าสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง Page Sutup) การตกแต่งสไลด์ด้วยชุดรูปแบบ/ชุดข้อความ/เอฟเฟ็กต์ (กลุ่มคำสั่ง Themes) และการกำหนดพื้นหลังสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง Background)

·       Translations (การเปลี่ยนแปลงสไลด์)

Translations รวมคำสั่งในการกำหนดเอฟเฟ็กต์กำหนดการเปลี่ยนสไลด์

·       Animations (การเคลื่อนไหว)

Animations รวมคำสั่งในการกำหนดเอฟเฟ็กต์การเคลื่อนไหว กำหนดการเคลื่อนไหวของวัตถุ

·       Slide show (การนำเสนอภาพนิ่ง)

Slide show รวมคำสั่งเกี่ยวกับการนำเสนองาน นำเสนอสไลด์ทั้งหมด/นำเสนอสไลด์ปัจจุบัน/นำเสนอเฉพาะชุดสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง Start Slide Show) กำหนดค่าในการนำเสนอ/ซ่อนการนำเสนอสไลด์/นำเสนองานโดยบันทึกเสียงการบรรยาย/นำเสนองานตามกาลเวลา (กลุ่มคำสั่ง Set Up) และกำหนดหน้าจอในการนำเสนอ/การแสดง 2 หน้าจอ (กลุ่มคำสั่ง Monitors)

·       Review (ตรวจทาน)

Review รวมคำสั่งเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสาร เช่น การพิสูจน์อักษร (กลุ่มคำสั่ง Proofing) การแปลภาษา (Language) และการแทรกข้อคิดเห็นบนเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Comments)

·       View (มุมมอง)

View รวมคำสั่งสำหรับเลือกมุมมองในการทำงานกับสไลด์ (กลุ่มคำสั่ง Presentation Views) การซ่อน/แสดงส่วนประกอบบนหน้าต่างโปรแกรม(กลุ่มคำสั่ง Show/Hide) การย่อ/ขยายเอกสาร (กลุ่มคำสั่ง Zoom) การแสดงสไลด์เป็นสี/ขาวดำจัดการหน้าจอการทำงาน (Window) และการสร้างคำสั่งการทำงาน (Macros)

·       Add - Ins (เครื่องมือเพิ่มเติม)

Add - Ins ประกอบด้วยเครื่องมือเพิ่มเติมต่างๆ เช่น การบันทึกในรูปแบบกล้อง วีดีโอ ฯลฯ

·       File (แฟ้ม)

หน้าจอในส่วนของ File (แฟ้ม) จะประกอบไปด้วย

Info คือ รายละเอียดของโปรแกรม

New คือ การสร้างไฟล์ใหม่

Open คือ การเปิดไฟล์

Save คือ การบันทึก

Save As คือ การบันทึกเป็น

Print คือ การพิมพ์ข้อมูล

Share คือ การแชร์ข้อมูลไปยังที่ต่างๆเช่นอีเมล์

Export คือ การบันทึกรูปแบบต่างๆเช่นการบันทึกไฟล์ PDF บันทึกลงแผ่นซีดีการบันทึกในรูปแบบวิดีโอ


Close คือ การออกจากโปรแกรม



2.4 การสร้างไฟล์

การสร้างไฟล์

การสร้างไฟล์เพื่อสร้างงานนำเสนอใหม่ให้ปฏิบัติดังนี้

        1. คลิกที่แท็บ File (แฟ้ม)


        2. คลิกที่ New (สร้าง)


        3. เลือกรูปแบบสไลด์ที่ต้องการ


        4. ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ชื่อรูปแบบที่ต้องการ


        5. จะปรากฏสไลด์ตามรูปแบบที่เลือกไว้

        6. เริ่มทำงานตามที่ได้เตรียมการไว้


2.5 การสร้างภาพนิ่ง

การสร้างภาพนิ่ง

    การสร้างภาพนิ่ง (New Slide) เป็นการเลือกรูปแบบ (Layout) ตามที่ต้องการ

        1. คลิกที่รูปเครื่องมือ New Slide

        2. จะปรากฏรูปแบบให้เลือก

        3. คลิกที่รูปแบบที่ต้องการ


2.6 การเปลี่ยนโครงสร้างภาพนิ่ง

การเปลี่ยนโครงสร้างภาพนิ่ง

        เมื่อต้องการเปลี่ยนโครงสร้างภาพนิ่งให้คลิกที่รูปเครื่องมือ Layout


จะปรากฏโครงสร้างภาพนิ่งให้เลือก แล้วดับเบิ้ลคลิกที่รูปที่ต้องการ สไลด์ก็จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบที่เลือกไว้


2.7 เค้าโครงรูปแบบ

เค้าโครงรูปแบบ

เค้าโครงรูปแบบ จะมีหลายรูปแบบให้เลือกคือ

    Title Slide แบมีหัวเรื่อง

    Title and Content แบบมีหัวเรื่องและรายการ

    Section Header แบบวางตำแหน่งหัวข้อ

    Two Content มีรายการ 2 ด้าน

    Comparison แบบมีรายการและหัวข้อ 2 ด้าน

    Title Only แบบมีหัวข้อเรื่องอย่างเดียว

    Blank แบบว่างเปล่า

    Content with Caption แบบมีรายการและรูปแบบ 2 ด้าน

    Picture with Caption แบบรูปภาพและรูปแบบ ด้าน


2.8 มุมมอง

มุมมอง

·       มุมมองรูปแบบปกติ (Normal)

เป็นมุมมองพื้นฐานในการทำงาน ซึ่งเมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา ก็จะแสดงมุมมองนี้ก่อนเสมอด้วยจะประกอบการทำงานที่ต่างกัน 2 แบบคือแบบ Outline (โครงร่าง) ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านซ้ายและแบบ Slides (ภาพนิ่ง) ซึ่งจะอยู่บริเวณด้านขวา 

·       มุมมองของรูปแบบโครงร่าง (Outline View)

จะแสดงเนื้อหาในการนำเสนอที่อยู่บนสไลด์แต่ละแผ่น ด้วยมีการจัดลำดับขั้นของเนื้อหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งสามารถเพิ่ม/ลบเนื้อหา หรือจัดลำดับขั้นของเนื้อหาบนสไลด์ได้อย่างรวดเร็ว

·       มุมมองรูปแบบเรียงลำดับภาพนิ่ง (Slides Sorter)

เป็นมุมมองที่แสดงสไลด์ทั้งหมดในงาน โดยเรียงกันตามลำดับตั้งแต่สไลด์แผ่นแรกจนถึงแผ่นสุดท้ายทำให้สามารถมองเห็นสไลด์ได้พร้อมกัน และช่วยในการจัดเรียงลำดับ การเพิ่ม/ลบแผ่นสไลด์

·       มุมมองรูปแบบบันทึกร่าง (Notes Page)

เป็นมุมมองที่สามารถบันทึกรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อการทบทวนเนื้อหา ซึ่งในส่วนนี้จะไม่แสดงให้เห็นในขณะที่นำเสนอผลงาน 

·       มุมมองรูปแบบต้นฉบับ (Insert Slide Master)

เป็นมุมมองที่สามารถกำหนดต้นแบบ ซึ่งจะปรากฏในทุกๆ สไลด์ เช่น หัวข้อเรื่อง ชื่อหน่วยงาน ชื่อผู้บรรยาย เป็นต้น


2.9 การบันทึก

การบันทึก

เมื่อดำเนินการสร้างงานนำเสนอไม่ว่าจะเสร็จหรือไม่เสร็จควรที่จะต้องมีการบันทึกทั้งนี้เพื่อนำไปสร้างงานต่อหรือป้องกันการสูญหายของข้อมูล

        1. คลิกที่รูปเครื่องมือบันทึก (Save)

        2. จะปรากฏหน้าจอดังนี้แล้วคลิกที่ปุ่มเครื่องมือ Browse เพื่อเลือกแรงที่จะใช้ในการเก็บข้อมูล


        3. เลือกแหล่งเก็บข้อมูลในที่นี้เลือกแหล่ง My Documents

        4. พิมพ์ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการในช่อง File name ในที่นี้พิมพ์ชื่อการนำเสนอหน่วยที่ 1 เสร็จแล้วให้คลิกที่ปุ่มเครื่องมือ Save 


(บันทึก) ส่วนในการบันทึกครั้งต่อไป ให้คลิกที่รูปเครื่องมือ Save (บันทึก) ได้เลย ทั้งนี้ควรที่จะทำการบันทึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล


2.10 การออกจากโปรแกรม

การออกจากโปรแกรม

การออกจากโปรแกรม

เมื่อทำงานเสร็จแล้วหรือต้องการที่จะออกจากโปรแกรมมีวิธีปฏิบัติดังนี้

        1. คลิกที่แท็บ File (แฟ้ม)

        2. คลิกที่ Close




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ     ในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ มีให้เลือกใช้งานกันหลายโปรแกรม ส่วนช่องทางการนำเสนอผลงานมี 2 ช่องท...