10.1 การสร้างภาพเคลื่อนไหว
การสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animation)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวหรือ Animation คือ การนำภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาวางเรียงต่อกันแล้วค่อย ๆ เล่นทีละภาพอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดเป็นภาพเคลื่อนไหว อาจจะมีการใส่ลูกเล่นหรือ Effect ให้การเคลื่อนไหวดูน่าสนใจและสวยงามยิ่งขึ้น
ชนิดของภาพเคลื่อนไหว
1. การเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame Animation)
การเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame Animation) คือ การสร้างคีย์เฟรม หลาย ๆ เฟรมเรียงต่อกัน โดยแต่ละเฟรมจะมีเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่งและค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเฟรม เมื่อมีการแสดงจะทำให้มองเห็นภาพเคลื่อนไหว
2. การเคลื่อนไหวแบบทวีน (Tween Animation)
การเคลื่อนไหวแบบทวีน (Tween Animation) คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ โดยสร้างแค่เนื้อหาในเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสุดท้าย ส่วนการเคลื่อนไหวที่อยู่ในเฟรมระหว่างกลาง โปรแกรมจะสร้างขึ้นให้อัตโนมัติตามลักษณะต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ ซึ่งภาพเคลื่อนไหวแบบทวีน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame Animation) คือ การสร้างคีย์เฟรม หลาย ๆ เฟรมเรียงต่อกัน โดยแต่ละเฟรมจะมีเนื้อหาที่เป็นภาพนิ่งและค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเฟรม เมื่อมีการแสดงจะทำให้มองเห็นภาพเคลื่อนไหว
การเคลื่อนไหวแบบทวีน (Tween Animation) คือ การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบอัตโนมัติ โดยสร้างแค่เนื้อหาในเฟรมเริ่มต้นและเฟรมสุดท้าย ส่วนการเคลื่อนไหวที่อยู่ในเฟรมระหว่างกลาง โปรแกรมจะสร้างขึ้นให้อัตโนมัติตามลักษณะต่างๆ ที่ได้เลือกไว้ ซึ่งภาพเคลื่อนไหวแบบทวีน
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Motion Tween เปลี่ยนแปลงแบบเคลื่อนที่
2.2 Shape Tween เปลี่ยนแปลงรูปร่าง
3. การเคลื่อนไหวแบบแอคชั่นสคริต์ (Action Script)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อหาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหว แบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น เมฆลอย พัดลมกำลังหมุน ยานบิน รถกำลังแล่น เป็นต้น
10.2 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม (Frame By Frame)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบเฟรมต่อเฟรม
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เป็นการสร้างคีย์เฟรม หลายๆ คีย์เฟรมต่อเรียงกัน แต่ละเฟรมจะเป็นอิสระต่อกัน การแก้ไขเฟรมใดเฟรมหนึ่ง ไม่ส่งผลต่อเฟรมอื่นๆ ซึ่งหลักๆ มีอยู่ 3 รูปแบบคือ
1. การสร้างข้อความเคลื่อนไหว
2. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่งวัตถุ
3. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย่อ-ขยายวัตถุ
รูปแบบที่ 1 การสร้างข้อความเคลื่อนไหว
ขั้นที่ 1 พิมพ์ข้อความลงบน Stage โดยเริ่มที่คีย์เฟรมใดคีย์เฟรมหนึ่ง
ขั้นที่ 2 เพิ่มคีย์เฟรมที่ 2 โดย กด F6 หรือ คลิกขวาที่คีย์เฟรมที่ 1 แล้วคลิก Insert Keyframe
ขั้นที่ 3 คลิกที่คีย์เฟรมที่ 2 พิมพ์ตัวอักษรตัวที่ 2 หรือข้อความที่ต้องการ
ขั้นที่ 4 ทำขั้นตอนที่ 2 ต่อด้วยขั้นตอนที่ 3 วนอย่างนี้ จนกว่าจะครบข้อความที่ต้องการ
ขั้นที่ 5 ทำจนครบข้อความที่ต้องการดังภาพ
ขั้นที่ 6 ทดสอบ Movie โดยกดCtrl+ Enter หรือ คลิกเมนู Control > Test Movie
จะได้ไฟล์ Movie เป็น .swf
รูปแบบที่ 2 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย้ายตำแหน่งวัตถุ
ขั้นที่ 1 สร้างวัตถุขึ้นมา 1 ชิ้น จะวาดเป็นภาพธรรมดาหรือ ทำเป็น ซิมโบลก็ได้ บนเฟรมที่ 1
ขั้นที่ 2 คลิกขวาที่เฟรมที่ 2 หรือ กด ปุ่ม F6 เพื่อเพิ่มคีย์เฟรม (Keyframe)
ขั้นที่ 3 ใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) คลิกแล้วย้ายตำแหน่งวัตถุขยับจากตำแหน่งเดิมเล็กน้อย
ขั้นที่ 4 ทำซ้ำขั้นที่ 2 คือ คลิกขวาที่เฟรมถัดไปคือเฟรมที่ 3 หรือ กดปุ่ม F6 เพื่อเพิ่มคีย์เฟรม จากนั้นใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) คลิกแล้วย้ายตำแหน่งวัตถุอีกเล็กน้อย
ขั้นที่ 5 เพิ่มคีย์เฟรมต่อไปเรื่อยๆ และ ขยับวัตถุ ไปเรื่อยจนกระทั่งได้ภาพเคลื่อนไหวตามต้องการ
จากนั้นตรวจสอบการเคลื่อนไหวโดยการคลิกที่หัวอ่าน(Play Head) แล้วลากเม้าส์ซ้าย-ขวา
ขั้นที่ 6 กด Ctrl + Enter หรือ คลิกที่เมนู Control > Test Movie เพื่อชมตัวอย่าง
รูปแบบที่ 3 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบย่อ-ขยายวัตถุ
การเปลี่ยนขนาดวัตถุให้ใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้างภาพเคลื่อนไหวตัวอย่างเช่นการทำให้วัตถุเคลื่อนที่จากตำแหน่งที่อยู่ไกลมาใกล้เป็นต้น
ขั้นที่ 1 วาดวัตถุขึ้นมา 1 ชิ้น ดังรูป
ขั้นที่ 2 ใช้ลูกศรสีดำ (Selection Tool) ลากครอบวัตถุทั้งหมด
ขั้นที่ 3 กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้แล้วกด ตัว G เพื่อสร้างกลุ่มของวัตถุ (Group) จะปรากฏขอบสีฟ้าขึ้น
ขั้นที่ 4 คลิกเลือกเครื่องมือ Free Transform Control จะมีกรอบสีดำขึ้นรอบวัตถุ
ขั้นที่ 5 นำเม้าส์มาชี้ที่กรอบสี่เหลี่ยมสีดำเล็กๆ ที่มุมของวัตถุแล้วย่อยให้เป็นภาพขนาดเล็ก
ขั้นที่ 6 คลิกขวาที่เฟรมที่ 2 เลือก Insert Keyframeหรือ กดปุ่ม F6 เพิ่มคีย์เฟรม แล้วขยายภาพให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อย
ขั้นที่ 7 กดปุ่ม F6 เพิ่มคีย์เฟรมแล้วขยายภาพขึ้นอีกเล็กน้อย
ขั้นที่ 8 ทำซ้ำขั้นตอนที่ 7 จนได้ขนาดภาพที่ต้องการอาจจะต้องเพิ่มหลายๆคีย์เฟรมก็ได้
ขั้นที่ 9 กด Ctrl+ Enter เพื่อชมผลงาน
หากต้องการทำให้ภาพใหญ่เป็นเล็กต้องทำให้ภาพในตำแหน่งเฟรมที่ 1 เป็นภาพขนาดใหญ่เฟรมถัดไปค่อยๆปรับให้เล็กลงเรื่อยๆทีละเฟรม
10.3 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบทวีนแอนิเมชั่น (Tweened Animation)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบทวีนแอนิเมชั่น
Shape Tween คือการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่างจากรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่งเช่น จากรูป สี่เหลี่ยมเป็นรูปวงกลม หรือ จากรูปเป็นข้อความ เป็นต้น
ขั้นที่ 1 คลิกที่เฟรมที่ 1 แล้ววาดรูปวัตถุขึ้นมาหนึ่งรูป
ขั้นที่ 2 คลิกที่เฟรมที่ 1 (สำคัญมากเพราะถ้าไม่คลิกตัวเลือกจะไม่แสดงขึ้นในหน้าต่าง Properties)
เลือกคำสั่ง Shape ในช่อง Tween
ขั้นที่ 3 คลิกขวาที่เฟรมที่ 20 แล้วเลือกคำสั่ง Insert Keyframe
ขั้นที่ 4 คลิกเฟรมที่ 20 แล้วกดปุ่ม Delete ลบวัตถุเดิมออกตอนนี้บนไทม์ไลน์จะมีแถบเส้นประสีเขียว
ขั้นที่ 5 วาดรูปที่ต้องการให้เปลี่ยนลงไปในเฟรมที่ 20
ขั้นที่ 6 กดปุ่ม Ctrl+Enter เพื่อทดสอบการเปลี่ยนแปลงจะเห็นภาพค่อยๆเปลี่ยนจากรูปหนึ่งเป็นอีกรูปหนึ่ง
10.4 การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบแอคชั่นสคริปต์ (Action Script)
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบแอคชั่นสคริปต์
การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ เป็นการเคลื่อนที่ของเนื้อหาจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หรือเปลี่ยนคุณสมบัติจากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับการทำภาพเคลื่อนไหว แบบต่อเนื่องสม่ำเสมอ เช่น เมฆลอย พัดลมกำลังหมุน ยานบิน รถกำลังแล่น เป็นต้น
1. การสร้างภาพเคลื่อนไหวแบบลอยในแนวเส้นตรง
ขั้นที่ 1 คลิกเลือกคีย์เฟรมจุดเริ่มต้น
ขั้นที่ 2 สร้างวัตถุ หรือเนื้อหาตามต้องการ
ขั้นที่ 3 คลิกขวาที่คีย์เฟรม คลิกเลือกเมนู Create Motion Tween
ขั้นที่ 4 กำหนดระยะห่างจากจุดแรกตามต้องการ เช่น ห่าง 15 เฟรม คลิกที่เฟรมที่ 15 แล้วเพิ่มคีย์เฟรม โดยกด F6 หรือคลิกเมนู Insert > Timeline > Keyframe
ขั้นที่ 5 จับวัตถุที่ stage แล้วปรับเปลี่ยนคุณลักษณะ เช่น ย้ายตำแหน่ง ย่อ-ขยาย เปลี่ยนสี หรืออื่นๆ ตามต้องการ
ขั้นที่ 6 ทดสอบ Movie โดยกด Ctrl+ Enter หรือ คลิกเมนู Control > Test Movie จะได้ไฟล์ Movie เป็น .swf
เมื่อสร้างวัตถุและกำหนดการเคลื่อนไหวแล้ว ในขณะที่วัตถุเคลื่อนไหว สามารถปรับแต่งให้มีคุณลักษณะอื่นๆ ไปพร้อมๆ กันได้ โดยกำหนดเพิ่มเติมได้จาก หน้าต่าง Properties
10.5 การใส่เสียง
การใส่เสียง
การใส่เสียงเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้โปรแกรมมัลติมีเดียสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โปรแกรมการนำเสนอมักจะมีเสียงประกอบ อาจจะเป็นเสียงเพลง หรือเสียงบรรยายถ้าเป็นการนำเสนอเพื่อเผยแพร่และแนะนำองค์กร ก็จะมีเสียงบรรยายและเสียงเพลงประกอบการใส่เสียงเพลง
การนำเข้าไฟล์เสียง
เสียงประกอบในมูฟวี่ของ Flash แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
· Event Sound หมายถึง เสียงที่ต้องถูกดาวน์โหลดมาครบสมบูรณ์ก่อนจึงจะเริ่มเล่นได้และเมื่อเล่นก็จะเล่นอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสั่งให้หยุด
· Stream Sound หมายถึง เสียงซึ่งเริ่มเล่นทันทีที่ข้อมูลของเฟรมแรกๆ ถูกดาวน์โหลดเข้ามามากพอที่จะเล่นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น