หน่วยที่ 1 การนำเสนอข้อมูล

 

1.1 ความหมายของการนำเสนอข้อมูล

ความหมายของการนำเสนอข้อมูล (Presntation)

            การนำเสนอข้อมูลหมายถึงการสื่อสารเพื่อเสนอข้อมูลความรู้ความคิดเห็นหรือความต้องการไปสู่ผู้รับการนำเสนอข้อมูลโดยใช้เทคนิคหรือวิธีการต่างๆอันจะทำให้บรรลุผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของการนำเสนอ


1.2 ความสำคัญของการนำเสนอ

ความสำคัญของการนำเสนอข้อมูล

            ในประจุบันนี้การนำเสนอข้อมูลมามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจทางการศึกษาหรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐ และเอกชนทุกแห่งก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูลเสนอความเห็นเสนอขออนุมัติหรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆมีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชมการฝึกอบรมการประชุมหรือผู้ที่เป็นหัวหน้างานทุกระดับจะต้องรู้จักวิธีการนำเสนอเพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานต่างๆ


1.3 วัตถุประสงค์ในการนำเสนอ

วัตถุประสงค์ในการนำเสนอข้อมูล

1. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลรับทราบความคิดเห็นเพื่อความต้องการ เช่น ในการประชุมคณะกรรมการต่างๆ ประธานในที่ประชุมจะต้องชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ

2. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอข้อมูลพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเช่นในการประชุมคณะกรรมการแต่ละครั้งคณะกรรมการแต่ละฝ่ายต่างๆ จะต้องชี้แจงข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นให้ที่ประชุมได้รับทราบเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย หรือลงมติที่ประชุม

3. เพื่อให้ผู้รับการนำเสนอได้รับความรู้จากข้อมูลที่นำเสนอเช่นในการฝึกอบรมหรือการสัมมนาวิทยากรหรือผู้เชี่ยวชาญจะต้องนำเสนอข้อมูลที่เป็นความรู้ และข้อเท็จจริงต่างๆ ให้แก่ฟูเข้าฝึกอบรม หรือใช้ในการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานต่างๆเพื่อให้ผู้มาเยี่ยมชมกิจการหรือผู้บังคับบัญชาที่เดินมาตรวจเยี่ยมได้รับทราบ

4. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหน่วยงานหรือองค์กรให้แก่บุคคลทั่วไปได้รับทราบ


1.4 หลักการออกแบบการนำเสนอข้อมูล

หลักการออกแบบการนำเสนอข้อมูล 

ในการนำเสนอข้อมูลหรือบรรยายแต่ราคาของผู้บรรยายหรือผู้นำเสนอจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใส่ใจวิธีการนำเสนอภายใต้จำกัดรวมทั้งหาแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ฟังรู้ในสิ่งที่พูดฉะนั้นการเข้าใจหลักการออกแบบและการใช้โปรแกรมสำนักงานเพื่อการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นทักษะที่จำเป็นซึ่งมีหลักการออกแบบและการใช้โปรแกรมนำเสนอดังนี้

    1. การใส่เนื้อหาหรือภาพที่สำคัญ ไม่ควรใส่ไว้ติดขอบหน้าจนเกินไป ควรเผื่อริมขอบจอไว้เล็กน้อย

    2. การจัดเรียงลำดับเนื้อหา

        2.2 จัดทำตามลำดับของเนื้อหาหรือการบรรยายไม่สลับไปสลับมา

        2.3 เริ่มแรกด้วยการแสดงชื่อเรื่อง พร้อมชื่อของผู้นำเสนอ

        2.4 ต่อมาความเป็นเนื้อหาที่แสดงหัวข้อในการ นำเสนอ

        2.5 จากนั้นเป็นเนื้อหาที่เป็นส่วนของเนื้อหาที่เรียงลำดับจากหัวข้อที่กำหนด

        2.6 เพื่อป้องกันการสับสนขว้างใส่หัวข้อเรื่องทุกเนื้อหาและใส่เครื่องหมายลำดับเพื่อช่วยให้ผู้ฟังอ้างอิงได้

    3. การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรและพื้นหลัง ควรเลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่เป็นมาตรฐานอ่านได้ง่ายและมีขนาดใหญ่ต่อการมองเห็นในระยะไกล ไม่เล็กจนเกินไป รวมทั้งเลือกสีพื้นหลัง และสีตัวอักษรที่ติดกัน เพื่อช่วยให้อ่านข้อความได้ง่าย หรือเพื่อนหลังที่ไม่มีลวดลายมากเกินไปจนทำให้ลายตา รักการออกแบบรูปแบบ ขนาดตัวอักษร และสี่ที่เหมาะสมดังนี้

        3.1 เลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่มีหัวเพื่อให้อ่านง่าย และไม่ควรใช้ตัวอักษรเกิน 2 แบบ

        3.2 ควรใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย ด้วยส่วนของเนื้อหาภาษาไทยควรใช้ประมาณ 36 - 50 พอยต์ (Point) สำหรับส่วนของหัวเรื่องควรใช้ประมาณ 50 - 60 พอยต์ (Point)

        3.3 ควรใช้ตัวหนาหรือตัวขีดเส้นใต้ในการเน้นข้อความ หรือจะใส่เงาให้ตัวอักษร เหงาควรเข้มกว่าสีพื้น

        3.4 ไม่ควรใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแบบตัวใหญ่ทั้งหมดเลย เพราะจะอ่านได้ยาก ยกเว้นคำสั้นๆ ที่ เป็นหัวเรื่องหรือต้องการเน้น

        3.5 ใช้พื้นหลังที่สีตัดกับตัวอักษร เช่น พื้นเมืองคือตัวอักษรสว่างหรือตัวอักษรสว่างพื้นมืด

        3.6 ขวัญชัยพื้นหลังสีเข้มกลับห้องที่มีผู้ฟังนั่งไม่เกิน 20 ฟุต หากไกลกว่านั้นขวัญใช้สีสว่าง

        3.7 หลีกเลี่ยงพื้นหลังที่ยากต่อการอ่าน เช่น เป็นภาพ ที่มีลวดลาย หรือมีสีเหมือนกับตัวอักษร

        3.8 ควรใช้รูปแบบตัวอักษร ขนาด รวมทั้งสีตัวอักษรและพื้นหลังแบบเดียวกันตลอดทุกสไลด์

    4. ควรจะบรรจุข้อความที่เป็นใจความสำคัญ ซึ่งสั้นและกะทัดรัด

    5. ควรจะแสดงหนึ่งประเด็นในแต่ละครั้ง เช่น หนึ่งหน้ามีหนึ่งประเด็น แต่หากต้องบรรจุไว้หลายประเด็น ในหนึ่งหน้า ขว้างแสดงผลทีละประเด็น เพื่อให้ผู้ฟังคงความสนใจกับสิ่งที่ผู้นำเสนอกำลังพูด

    6. ไม่ควรใช้การแสดงผลพิเศษ (Effect) ที่มากเกินไป เพราะจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือและน่ารำคาญ


1.5 การใช้มัลติมีเดีย

การใช้มัลติมีเดีย

            สื่อมันติมีเดีย (Multimedia) คือการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสานสื่อหลายชนิดเช่นข้อความห้ามกราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว(Animation) เสียง (Sound) และวีดีโอ (Video) เป็นต้น สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมันติมีเดีย จะช่วยให้เกิดความรักหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีในแนวทางใหม่ ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจและเราความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนมากยิ่งขึ้น


1.6 การเตรียมงานก่อนการนำเสนอ

การเตรียมงานก่อนการนำเสนอ

            การเขียนสตอรี่บอร์ดเป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปของมันติมีเดียต่างๆ ลงในกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและสื่อใน ในรูปแบบต่างๆเหล่านี้เป็นอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป ขณะที่พังงานำเสนอลำดับและขั้นตอนการตัดสินใจ สตอรี่บอร์ดนำเสนอเนื้อหาและลักษณะของการนำเสนอขั้นตอนการสร้าง สตอรี่บอร์ดรวมไปถึงการเขียนสคริปต์ (ซึ่งสคริปต์ในที่นี้ คือ เนื้อหา) ที่ผู้ใช้จะได้เห็นบนหน้าจอ ซึ่งได้แก่ เนื้อหา ข้อมูล คำถาม ผลป้อนกลับ คำแนะนำ คำชี้แจง ข้อความเรียกความสนใจ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ

Storyboard คือ การสร้างภาพให้เห็นลำดับขั้นตอนตามเนื้อหาที่ต้องการ โดยเฉพาะการสร้างภาพเคลื่อนไหว

รายละเอียดชื่อควรมีใน Storyboard ได้แก่ คำอธิบายแต่ละสื่อที่ใช่ (ข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วิดีโอ)

ตัวอย่างแบบฟอร์มในการจัดทำ Storyboard



1.7 โปรแกรมนำเสนอข้อมูล

โปรแกรมการนำเสนอข้อมูล

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงานนำเสนอหรือแสดงผลของสถาบัน มหาวิทยาลัย คณะฯ หน่วยงาน บริษัท  โปรโหมดสินค้า แนะนำสินค้า ประชุม สัมมนา บรรยายทางวิชาการ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งแต่ละโปรแกรมเหมาะกับงานแต่ละแบบ ยกตัวอย่างเช่น

1. Microsoft PowerPoint เหมาะสำหรับ Computer Presentation ที่ใช้งานง่ายที่สุด

2. Director เหมาะสำหรับ Multimedia Computer Presentation ที่ดีที่สุด ใช้งายากกว่า PowerPoint แต่เหมาะสำหรับการจัดทำสื่อการเรียนการสอน

3. Authorware เหมาะสำหรับ Multimedia ที่มีบททดสอบและการโต้ตอบที่ดีที่สุด ใช้งานยากกว่า PowerPoint แต่ง่ายกว่า Director เหมาะสำหรับนิสิต นักศึกษา ครู อาจารย์

4. Adobe Flash เหมาะสำหรับ Multimedia CAI Games Web และอื่นๆ อีกมากมาย เสถียรภาพสูง สามารถบันทึกเป็นไฟล์ .exe และ .swf ได้

5. Swish max, Swish 3D เป็นโปรแกรมที่ดีมากในการนำเสนอผลงาน Special Effect เกี่ยวกับภาพและตัวหนังสือ ซึ้งเป็นโปรแกรมที่สร้างใช้งานง่ายกว่า Flash มี Effect สำเร็จรูปให้ใช้มากมาย นำไปสร้าง Effect ใช้กับภาพและตัวหนังสือ แล้ว Export เป็น .swf นำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี

6. Tool book เป็นโปรแกรมที่ดี แต่การใช้ยากเกินไป  ถึงแม้ว่าจะมีเครื่องมือที่สามารถตอบสนองความต้องการสำหรับงานนำเสนอได้ดีก็ตาม

7. Ulead Video Studio เป็นโปรแกรมในการนำเสนออีกโปรแกรมหนึ่ง เหมาะสมสำหรับงานประชาสัมพันธ์หรืองานมงคลต่างๆ

     แต่ในเนื้อหาบทเรียนเล่มนี้ จะใช้โปรแกรมสำหรับการนำเสนอข้อมูล 2 โปรแกรม คือ โปรแกรม Microsoft PowerPoint ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายและนิยมใช้งานมากที่สุด และโปรแกรม Adobe Flash ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ยากกว่า Microsoft PowerPoint แต่สามารถที่จะพัฒนาการนำเสนอให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ     ในปัจจุบันโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ มีให้เลือกใช้งานกันหลายโปรแกรม ส่วนช่องทางการนำเสนอผลงานมี 2 ช่องท...